G6PD คืออะไร

G6PD คืออะไร โรคที่มีมาแต่กำเนิด?

โรคพร่องเอ็นไซม์ G6PD หรือ โรคแพ้ถั่วปากอ้า (ห๊ะ ชื่อโรคอะไรเนี่ย 555)  เอ็นไซม์ G6PD มีอยู่ที่ไหน สำคัญกับเราอย่างไร มาทำความรู้จักเจ้าโรคนี้กันค่ะ

เอ็นไซม์ตัวนี้เราจะพบในเม็ดเลือดแดงมีหน้าที่ต่อต้านอนุมูลอิสระทำให้เม็ดเลือดแดงคงตัว ไม่แตกง่าย หมายความว่า ถ้าเอ็นไซม์ G6PD มันพร่อง ต่ำกว่าคนปกติทั่วไป เม็ดเลือดแดงเราก็จะแตกตัวง่าย ทำให้เราเกิดอาการตัวซีด อ่อนเพลีย เลือดจางอย่างรวดเร็ว  บางคนไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคนี้มาก่อนเนื่องจากไม่ได้ตรวจคัดกรองมาตั้งแต่แรกเกิด  แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าเราเป็นโรคพร่อง G6PD ไหม?

อาการในเด็ก

เด็กแรกเกิดจะมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง โดยพบว่า 1 ใน 3 ของเด็กที่ต้องรับการส่องไฟ จะเป็นโรคพร่องเอนไซม์ G6PD หากพบว่าเด็กมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง แพทย์ก็จะเจาะเลือดเพื่อดูเอนไซม์ G6PD ซึ่งจะทำให้ทราบตั้งแต่ตอนนั้นว่าเด็กเป็นโรคนี้หรือไม่

อาการในผู้ใหญ่

คนไข้จะมีอาการเมื่อได้รับยา หรือสารต้องห้าม เนื่องจากเจ้าตัวไม่ได้รู้มาก่อนว่าเป็นโรคพร่องเอนไซม์ G6PD เมื่อเม็ดเลือดแดงแตก คนไข้จะมีอาการซีดลง รู้สึกเหนื่อยเพลีย โดยจะมีอาการ 1-2 วันหลังจากได้รับสารต้องห้าม นอกจากนั้นปัสสาวะจะเปลี่ยนเป็นสีโค้กหรือสีน้ำปลา เนื่องจากเม็ดเลือดแดงแตก ส่งผลให้เกิดการตกตะกอนที่ไต และทำให้ปัสสาวะเปลี่ยนสี ซึ่งหากมีอาการนี้ควรรีบมาพบแพทย์

ถ้าคุณหรือคนใกล้ตัวเราเป็นเจ้าโรคนี้ เราต้องดูแลตัวเองกันอย่างไร ?

การดูแลผู้ป่วยโรคภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD

1.      หลีกเลี่ยงหรือหยุดยาต่างๆ เช่น กลุ่มยารักษาโรคมาลาเรีย: Chloroquine, Pamaquine, Chloroquine, Mepacrine, กลุ่มยาปฏิชีวนะ: Chloramphenicol, Co-trimoxazole, Furazolidone, Furmethonol, Nalidixic acid, Neoarsphenamine, Nitrofurantoin, Nitrofurazone, Para-amino salicylic acid (PAS), กลุ่มยาซัลฟา:Co-trimoxazole, Sulfacetamide, Sulfamethoxypyrimidine, Dapsone และสารเคมีหรือกลุ่มยาอื่นๆ: ลูกเหม็น (Naphthalene), Alpha-methyldopa, Methylene blue, Pyridium เป็นต้น

2.      หลีกเลี่ยงรับประทานถั่วปากอ้าซึ่งมีสารอนุมูลอิสระหลายชนิด

3.      ป้องการติดเชื้อโรคต่างๆ หากไม่สบาย มีไข้ ควรมาพบแพทย์

4.      หากรับประทานยาที่ทำให้เกิดอาการซีด ปัสสาวะสีโคคาโคลา ที่เกิดจากเม็ดเลือดแดงแตกซึ่งจะเกิดภายใน 24 - 72 ชั่วโมงหลังรับประทานยา ให้รีบมาพบแพทย์เพื่อประเมินอาการซึ่งส่วนใหญ่จะดีขึ้น (self-limit) หากหยุดสิ่งกระตุ้น หลักการรักษาที่สำคัญคือหลีกเลี่ยงภาวะที่ทำให้เกิด oxidative stress

            ดังนั้นผู้ที่เป็นโรคพร่องเอนไซม์ G6PD ควรตระหนักและเห็นความสำคัญในการหลีกเลี่ยงอาหารและยาที่มีผลทำให้เกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตกเฉียบพลันได้ หากต้องเข้ารับการรักษาหรือต้องได้รับยาจะต้องแจ้งแพทย์ เภสัชกร และพยาบาลให้ทราบทุกครั้ง ว่าตนเองเป็นโรคพร่องเอนไซม์ G6PD ในหลายสถานพยาบาลมักให้บัตรประจำตัวแก่ผู้ที่เป็นโรคพร่องไซม์ G6PD เพื่อหลีกเลี่ยงยาที่อาจก่อให้เกิดปัญหาตามมา

 

หลังจากที่เราได้รู้จักเจ้าโรคนี้กันแล้ว เรามาลองทำความรู้จัก กับเจ้าเครื่องตรวจโรคนี้กันด้วยจะดีกว่าไหม

เครื่องตรวจคัดกรองภาวะ G6PD Deficiency : careSTART G6PD Biosensor Analyzer

เครื่องตรวจคัดกรองภาวะ G6PD Deficiency ยี่ห้อ careSTART G6PD Biosensor เป็นผลิตภัณฑ์จากประเทศเกาหลีใต้ ได้รับรองมาตรฐานการผลิต CE certificate และ ISO13485 ใช้หลักการตรวจวัดแบบElectrochemical Biosensor ใช้ปริมาณเลือดน้อย สามารถตรวจเลือดจากปลายนิ้วได้ ทราบผลเร็วภายใน 4 นาที และออกผลเป็นเชิงปริมาณ (Quantitative)

สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 02-362-4567

ขอขอบคุณขอมูลจาก

สมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย

รศ.นพ.กิตติ ต่อจรัส  หน่วยโลหิตวิทยา กองกุมารเวชกรรม   โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

สุขภาพและความงามไทยรัฐออนไลน์