Long Covid
เป็นโควิด-19 รักษาหายแล้ว แต่ทำไมยังป่วยอยู่ หลายคนมีข้อสงสัย เนื่องจากผู้ป่วยโควิด-19 ที่รักษาหายแล้วบางราย ยังรู้สึกมีอาการหลงเหลือต่อเนื่องเป็นเวลานาน ซึ่งจะพบมากในผู้สูงอายุ ผู้ที่มีภาวะอ้วน หรือน้ำหนักเกิน และผู้ที่มีโรคประจำตัว ซึ่งกลุ่มที่มีอาการอาจจะมีอาการตั้งแต่ 1 เดือน หรือมากกว่า 4-6 สัปดาห์ จะเป็นอาการที่เรียกว่า Post Covid Syndrome หรือ Long COVID คือ อาการหลงเหลือหลังติดเชื้อโควิด-19
Long COVID คืออะไร
Long COVID หรือ อาการหลงเหลือหลังติดเชื้อโควิด-19 ในระยะยาว เนื่องจากในขณะที่ป่วยโควิด-19 ร่างกายมีการสร้างแอนติบอดีบางอย่างขึ้นมา และไปจับกับโปรตีนเซลล์ของอวัยวะบางส่วนในร่างกาย และไปทำลายอวัยวะส่วนต่าง ๆ อาการ Long COVID
เป็นอาการเจ็บป่วยที่ไม่มีลักษณะตายตัว อาจเหมือนหรือต่างกันในแต่ละบุคคล ซึ่งผลกระทบของ Long COVID สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วร่างกาย ตั้งแต่ระบบหายใจ, ระบบประสาท,ระบบทางเดินอาหาร,หัวใจและหลอดเลือด ทำให้ผู้ที่หายป่วยบางรายยังไม่สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างเดิม ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้ 30-50% จากจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่รักษาหายแล้ว
กลุ่มเสี่ยงที่อาจจะพบอาการ Long COVID
- ผู้สูงอายุ
- ผู้ทีมีภาวะอ้วน
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว
- ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันต่ำ
- ผู้ติดเชื้อโควิด-19 มีอาการรุนแรง กลุ่มนี้จะมีความเสี่ยงในการเกิด Long COVID ได้มากกว่ากลุ่มที่ติดเชื้อและไม่มีอาการ
แต่ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการไม่หนักหรือผู้ป่วยที่ติดเชื้อแบบไม่แสดงอาการ ก็สามารถมีโอกาสที่จะเกิดอาการ Long COVID ได้เช่นเดียวกัน แต่จะไม่พบในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันที่ได้จากการรับวัคซีน
วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา (SARS-CoV-2) และป้องกันการพัฒนาไปสู่ภาวะอาการ Long COVID คือ การฉีดวัคซีน ซึ่งเรารู้ดีว่า วัคซีนต้านโควิด-19 ช่วยลดการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและลดอัตราการเสียชีวิตได้ นอกจากนี้ยังต้องปฎิบัติตามมาตรการป้องกันโควิด-19 อย่างเคร่งครัด โดยการสวมหน้ากาก, เว้นระยะห่างทางกายภาพ ล้างมือบ่อย ๆ
ขอบคุณข้อมูลความรู้
ศูนย์ตรวจสุขภาพ รพ.วิชัยเวชฯ หนองแขม